โรคน้ำกัดเท้า เป็นอาการทางผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงที่เกิดน้ำท่วม เกิดจากการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณเท้าที่แช่อยู่ในน้ำที่สกปรกเป็นเวลานาน หรือมีความชื้นที่เท้าอยู่ตลอดเวลา หากปล่อยให้มีการอักเสบอย่างต่อเนื่อง
อาการ
ผิวหนังที่เท้ามีอาการระคายเคือง คัน แดง เปื่อย และหลุดลอก หรือมีกลิ่น
มักเป็นบริเวณซอกนิ้ว จมูกเล็บหรืออาจเป็นทั้งเท้าได้
หากมีการติดเชื้อราแทรกซ้อนจะมีผื่นผิวหนังลอกคันเป็นวง ๆ หรือมีตุ่มน้ำใส หรือเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย มักจะมีอาการปวด บวม แดงร้อน กดเจ็บ หรือมีไข้ได้
สามารถแบ่งระยะและการรักษาภาวะน้ำกัดเท้าตามอาการ ดังต่อไปนี้
ระยะที่เกิดการระคายเคือง
เป็นระยะแรกเมื่อเท้าแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการระคายเคือง มีอาการเท้าเปื่อย คัน แสบ ผิวหนังแดงและลอก ระยะนี้เป็นระยะที่เป็นมาไม่นาน จึงยังไม่มีการติดเชื้อใดๆ
การรักษาจะใช้ยาทาสเตียรอยด์อ่อนๆ เช่น ไตรแอมซิโนโลนชนิดครีม (triamcinoloe cream), เบตาเมทาโซนชนิดครีม (betamethasone cream) ทาบางๆ วันละ 2-3 ครั้ง หลังจากทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่และเช็ดให้แห้งแล้ว
การป้องกันน้ำกัดเท้า
- ใส่ถุงเท้าที่ซักสะอาด และแห้ง ในรายที่มีอาการของโรคอยู่ ถ้านำถุงเท้าไปต้ม จะช่วยลดปริมาณเชื้อได้มาก หลีกเลี่ยงการใช้ถุงเท้าที่ทำจากสารบางประเภทที่ทำให้แพ้ เพราะจะเสริมอาการคันมากขึ้น
- ล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดหลังย่ำน้ำ ลุยน้ำ หรือเปียกน้ำ ถุงเท้าที่เปียกสกปรก กรณีที่ไม่สามารถซักตามปรกติได้ทันที ให้ซักด้วยน้ำเปล่าที่สะอาดเอาสิ่งสกปรกที่มากับน้ำออกก่อน บิดให้แห้ง ผึ่งไว้ในที่มีลมโกรก อย่าให้หมักหมม ก่อนมีโอกาสนำไปซักตามปรกติ
- การทำความสะอาดโดยเฉพาะที่มีแผลบวมแดง มีรอยแตก ให้แช่เท้าในภาชนะที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ แต่ไม่ต้องใช้น้ำยาที่แรงจนแสบร้อน ในการอาบน้ำ ให้ถูบริเวณแผลที่มีสะเก็ดออกด้วยผ้าหยาบที่นุ่ม แล้วเช็ดให้แห้งดีโดยเฉพาะตามซอกนิ้ว เมื่อแห้งแล้วจึงทายา เพื่อให้ยาสามารถแทรกซึมเข้าไปทำลายเชื้อและเอาคราบต่างๆ รวมทั้งยาที่ทาไว้ครั้งก่อนออกไป ไม่ควรทายาซ้ำๆ แต่เข้าไม่ถึงเชื้อ
- ไม่ใช้ข้าวของส่วนตัวปนกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า รองเท้า แม้แต่รองเท้าแตะ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคนี้อยู่ เพราะสามารถติดต่อกันได้
|